top of page

รู้หรือไม่? ใบขับขี่รถยนต์มี 2 ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร?



ใบขับขี่ หรือใบขับขี่รถยนต์จะถูกแยกออก เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ


1.ใบขับขี่ประเภท บ. (ส่วนบุคคล) ใบอนุญาตขับขี่ขนส่งสำหรับการใช้งานแบบส่วนบุคคลรวมถึงสามารถใช้เคลื่อนย้าย หรือทำการขนส่งเพื่อการค้าได้เช่นเดียวกัน (เฉพาะธุรกิจส่วนตัว) แต่จำกัดน้ำหนักการขนส่งไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม และต้องไม่ใช่การรับจ้าง


ใบขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (ประเภท บ.)

1.1 ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว ประเภท บ. (อายุ 2  ปี)

ในตอนแรกที่ไปทำใบขับขี่ ผู้ขอทำใบขับขี่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นรถชนิดใดก็ตาม จะได้รับเพียงใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภทโดยใบขับขี่ประเภทนี้มีอายุการใช้งาน 2 ปี สามารถทำได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

  • ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว

  • ใบขับขี่ขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว

ใบขับขี่ขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว


1.2 ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลหรือใบขับขี่รถยนต์ ประเภท บ. (อายุ 5 ปี) 

เมื่อใช้งานใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานแล้ว สามารถนำใบขับขี่มาต่ออายุเป็นใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีอายุการใช้งาน 5 ปี

1.3 ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ประเภท บ. (อายุ 5 ปี) 

มีเงื่อนไขคล้าย ๆ ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล คือ ทำครั้งแรกจะได้ใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน เมื่อแบบชั่วคราวหมดอายุ สามารถต่อเป็นใบขับขี่แบบ 5 ปีได้

 

1.4 ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลหรือใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ประเภท บ. (อายุ 5 ปี) 

สามารถทำได้เมื่อมีอายุ 20 ปีขึ้นไป และต้องได้รับใบขับขี่รถจักรยานยนต์แบบชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

 

1.5 ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี (ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ) หรือใบขับขี่สากล ประเภท บ. (อายุ 1 ปี) 

ใบขับขี่สากล เป็นใบขับขี่ที่อนุญาตให้ขับรถได้ตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาค ไม่มีการกำหนดอายุขั้นต่ำในการทำ แต่ต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลมาแล้ว และมีสำเนาหนังสือเดินทางประกอบ จึงจะสามารถยื่นเรื่องทำใบขับขี่สากลได้ ใบขับขี่ชนิดนี้มีอายุ 1 ปี สามารถใช้ได้ในประเทศที่ยอมรับใบขับขี่สากล 



2.ใบขับขี่ประเภท ท. (ทุกประเภท) ใช้สำหรับรถสาธารณะ รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนสีเหลือง ซึ่งใบอนุญาตขับรถทุกประเภทนั้น สามารถใช้ทดแทน ใบอนุญาตขับรถประเภทส่วนบุคคลได้ และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้

2.1 ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะหรือใบขับขี่สาธารณะ ประเภท ท. (อายุ 3 ปี)

เป็นใบขับขี่สำหรับคนที่ประกอบอาชีพขับรถสาธารณะ เช่น ขับแท็กซี่ บริการรถยนต์ส่วนตัว (GrabCar) คนขับรถส่งของ เป็นต้น โดยต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และสามารถทำได้เมื่อมีอายุ 22 ปีขึ้นไป


2.2 ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ ประเภท ท.(อายุ 3 ปี) 

ใบขับขี่รถสามล้อ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ รถตุ๊กตุ๊ก มีเงื่อนไขว่าต้องทำใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน เช่นกันกับใบขับขี่ของรถยนต์ และจะมีอายุการใช้งานได้ 5 ปีเช่นกัน


2.3 ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ ประเภท ท.(อายุ 3 ปี)

คนที่จะทำใบขับขี่ชนิดนี้ได้ จะต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมีใบขับขี่จักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยใบขับขี่มีอายุการใช้งาน 3 ปี คนที่ทำงานเป็นไรเดอร์ ขับรถส่งของ ส่งอาหาร ต้องมีใบขับขี่ประเภทนี้


2.4 ใบอนุญาตขับรถบดถนน ประเภท ท. (อายุ 5 ปี) 

สำหรับใบขับขี่รถบดถนนนั้น ผู้ขับจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษต่างๆ เช่น หลักสูตร กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยทางหลวง และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก) เพื่อให้สามารถใช้งานรถบดถนนที่มีความอันตรายสูงได้อย่างปลอดภัย โดยใบขี่ประเภทนี้ สามารถทำได้เมื่อมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป


2.5 ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์ ประเภท ท. (อายุ 5 ปี)

ใบขับขี่สำหรับขับรถแทรกเตอร์ คนขับจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และใบขับขี่จะมีอายุการใช้งาน 5 ปี


2.6 ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น ประเภท ท.  (อายุ 5 ปี )

ใบขับขี่ประเภทนี้คือใบอนุญาตสำหรับผู้ขอขับรถชนิดอื่น ๆ  เช่น รถใช้งานเกษตรกรรม เป็นต้น 

 


ดู 222 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page