top of page

"ผ่อนรถไม่ไหว" ต้องทำยังไง ไฟแนนซ์ยึดรถได้เมื่อไหร่ ?



ทำอย่างไร เมื่อ ผ่อนรถไม่ไหว

  1. เจรจากับไฟแนนซ์ เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ ขอปรับลดค่างวด ยืดเวลาการผ่อนชำระ หรือผ่อนชำระ แบบขั้นบันได

  2. รีไฟแนนซ์ใหม่ ขอสินเชื่อก้อนใหม่มาจ่ายเงินกู้ก้อนเดิม หรือลดดอกเบี้ยให้ต่ำลง ยืดระยะเวลาให้นานขึ้น

  3. เปลี่ยนสัญญาผู้เช่าซื้อโอนสิทธิ์หรือการเปลี่ยนสัญญารถ ให้ผู้อื่นมาเป็นผู้เช่าซื้อรถแทน โดยผู้เช่าซื้อคนใหม่จะเข้ามาเป็นคู่สัญญาโดยตรงรับหน้าที่ผ่อนชำระค่างวดเช่าซื้อ ครอบครองและใช้รถที่เช่าซื้อ


ค้างค่างวดกี่งวด จึงโดนยึดรถ

ไฟแนนซ์จะยึดรถได้ต่อเมื่อมีการค้างชำระค่างวดรถ 3 งวดติดต่อกัน และไฟแนนซ์ต้องทำหนังสือแจ้งให้ชำระค่างวดค้างไว้ อย่างน้อย 30 วัน สรุปได้ว่า ค้างค่าเช่าซื้อรวม 4 งวด จึงจะโดนยึดรถ ทั้งนี้ ไฟแนนซ์จะยึดรถไม่ได้หากผู้เช่าซื้อไม่ยินยอม การขู่บังคับ ไล่ลงจากรถ ยึดกุญแจรถไป หรือนำกุญแจสำรองมาเปิด ถือว่าเป็นการกระทำความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309


ขั้นตอน”ยึดรถ” ของไฟแนนซ์

กรณีไม่นำรถมาคืนไฟแนนซ์

1. ไฟแนนซ์ดำเนินการฟ้องคดีแพ่ง

  • กรณีมีหมายศาลให้ผู้เช่าซื้อไปไกล่เกลี่ยในศาล โดยต้องไปตามวัน เวลาที่ศาลระบุในคำฟ้อง เพราะมีโอกาสขอผ่อนชำระได้ และขอให้ศาลลดหนี้ให้ได้

  • กรณีไม่ได้รับหมายศาล แต่มีหนังสือให้นำเงินไปชำระหนี้และมีคำบังคับจากศาลพิพากษาให้นำรถไปคืนหรือชำระราคารถ ผู้เช่าซื้อควรขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ เนื่องจากไม่ได้รับหมายศาล

  • หากได้รับหมายศาล แต่ไม่ไปตามที่ศาลนัด จะทำให้เสียสิทธิการเจรจาหรือไฟแนนซ์อาจเรียกราคาสูงกว่าความเป็นจริงและศาลพิพากษาตามไฟแนนซ์ร้องขอ โดยผู้เช่าซื้อไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้าน


2. ไฟแนนซ์ดำเนินการฟ้องคดีอาญาไฟแนนซ์ฟ้องคดีหรือแจ้งความภายใน 3 เดือน ฐานยักยอกทรัพย์ หากมีรถคืนควรรีบคืนทันที เพื่อให้ไฟแนนซ์ถอนแจ้งความ แต่หากไม่มีรถคืนอาจมีความผิด ต้องติดตามหารถให้เจอและแจ้งไฟแนนซ์ให้ยึดรถ หรือเจรจาขอผ่อนจ่าย


กรณีไฟแนนซ์ยึดรถไปแล้ว

1. ใช้สิทธิ หรือโอนสิทธิซื้อรถได้

  • มีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิซื้อทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน เพื่อให้ “ให้ผู้ค้ำประกันใช้สิทธิซื้อ”ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อก่อน ภายใน 20 วัน

  • ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิซื้อ “ให้ผู้ค้ำประกันใช้สิทธิซื้อ”

  • ผู้เช่าซื้อหรือผู้ค้ำประกันโอนสิทธิซื้อ “ให้บุคคลภายนอกได้


2. ได้รับแจ้งวันขายทอดตลาด

  • มีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันประมูลหรือวันขายทอดตลาด

  • ห้ามปรับลดราคา ยกเว้นมีหนังสือแจ้งราคาที่จะปรับลดให้ทราบก่อน

  • ห้ามผู้ให้เช่าซื้อเข้าสู้ราคา ในการประมูลหรือขายทอดตลาด


การรับคืน หรือชดใช้หนี้ส่วนต่าง

  • ถ้าขายได้ราคาเกินกว่ามูลหนี้ ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อผู้ให้เช่าซื้อต้อง “คืนเงินส่วนที่เกิน” ให้แก่ผู้เช่าซื้อ

  • ถ้าขายได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ส่วนที่ขาดตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้อง “รับผิดในส่วนที่ขาด”

ทั้งนี้ "กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์" และ กฎหมายเช่าซื้อรถจักรยานยนต์  โดยประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการยึดรถ ดังนี้

ส่วนต่างของหนี้ที่ยังขาดหลังขายทอดตลาด (ติ่งหนี้) ในกรณีนำรถออกขายทอดตลาด หากผู้เช่าซื้อถูกยกเลิกสัญญา และผู้ให้เช่าซื้อนำรถออกขายทอดตลาด โดยปกติแล้ว ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่างวดที่ค้างอยู่ตามสัญญาประกอบด้วยเงินต้นและดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งตามประกาศฉบับนี้ให้คิดได้เฉพาะเงินต้นเท่านั้น

การคิดเบี้ยปรับการผิดนัดชำระ กรณีผู้เช่าซื้อชำระค่างวดล่าช้า หรือผิดนัดชำระค่างวด ผู้ให้เช่าซื้อ (ไฟแนนซ์) คิดเบี้ยปรับได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี โดยคำนวณจากยอดเงินที่ผิดนัดชำระ

โดยประกาศฉบับดังกล่าว มีผลบังคับใช้ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้  สัญญาเช่าซื้อรถฯ ที่ทำไว้ก่อนวันที่ 10 ม.ค. 2565 ให้ใช้บังคับต่อไป แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการตกลงระหว่างผู้เช่าซื้อ และผู้ให้เช่าซื้อ(ไฟแนนซ์)



ดู 24 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page